เมนู

จงใจขึ้นว่า ผู้นี้มาเพื่อจะประหารเราผู้ไม่มีความผิด เรานี่แหละ จักฆ่า
มันก่อน. นี้ชื่อว่า เวรภายในอันจะมีในภายหน้า. อนึ่ง เวรที่เป็นภาย
นอกนี้นั้น ในอรรถกถา ท่านเรียกว่า "เวรส่วนบุคคล" สองบทว่า
"ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ทุกข์ โทมนัส" โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง.
ก็ในข้อนี้มีอธิบายอย่างไร. แม้ในบทที่เหลือก็มีอธิบายอย่างนั้น. พึงทราบ
ความเกิดขึ้นแห่งเวรโดยนัยมีอาทิว่า "ผู้นี้ได้ทำลายสิ่งของของเราเสียแล้ว
ผู้นี้ได้ประพฤติ (ผิด) ในภรรยาของเราแล้ว ประโยชน์ถูกผู้นี้ทำลายแล้ว
เพราะกล่าวเท็จ กรรนชื่อนี้อันบุคคลนี้ก่อ (กระทำ) แล้วด้วยเหตุเพียง
เมาสุรา" ดังนี้. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวอันตนบรรลุแล้ว. บทว่า อริยกนฺเตหิ ได้แก่ ศีล 5.
เพราะว่า ศีล 5 เหล่านั้น เป็นที่ปรารถนา คือเป็นที่รักของพระอริยเจ้า
ทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายถึงไปสู่ภพก็ไม่ละศีล 5 เหล่านั้น. เพราะ-
ฉะนั้น ศีล 5 เหล่านั้น จึงเรียกว่า "เป็นที่ปรารถนาของพระอริยเจ้า."
ข้อที่เหลือซึ่งควรกล่าวในที่นี้ทั้งหมดนั้น ได้กล่าวแล้วในอนุสสตินิเทศ
ในวิสุทธิมรรคแล.
จบอรรถกถาปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ 1

2. ทุติยปัญจเวรภยสูตร



ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ



[156] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร 5 ประการของอริยสาวก

สงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดา-
ปัตติ 4 อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วย
ตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า.
[คำทั้งปวง เป็นต้นว่า " ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" ควรให้
พิสดาร]
[157] ภัยเวร 5 ประการสงบแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ
หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ลักทรัพย์. . .บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม. . .บุคคลผู้พูดเท็จ. . .
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อม
ประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวย
เจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัยอันเป็นตั้งแห่งความประมาท สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ภัยเวร 5 ประการนี้ สงบแล้ว.
[158] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดา-
ปัตติ 4 อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . .ในพระ-
ธรรม. . .ในพระสงฆ์. . .และประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา. . .

ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่างนั้น.
[159] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี
ฯ ล ฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดี
แล้วด้วยปัญญา.
[160] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร 5 ประการนี้
ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็น
องค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่างนี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวก
นั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราย่อมเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เรา
ย่อมเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ใน
ภายหน้า.
จบทุติยปัญจภยเวรสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยปัญจเวรภยสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 เพียงแต่ภาวะที่พวกภิกษุกล่าวเท่านั้น เป็นความ
ต่างกัน.
จบอรรถกถาปัญจเวรภยสูตรที่ 2